วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การศึกษากับภาวะผู้นำ

ภาวะผู้นำเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การบริหารจัดการต่างๆในองค์การสำเร็จลุล่วงไปได้ ดังนั้น ประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาที่ดีย่อมมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษา   จะเห็นได้จากงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับสถาบันการศึกษา  
เช่น  จากการศึกษาของ

                ในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิผลนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  ผู้บริหารจำเป็นต้องบูรณาการทฤษฎีในการบริหารการศึกษา  มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม รวมทั้งการสร้างสรรค์รูปแบบวิธีการขึ้นมาใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพของสถาบันการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ภาวะผู้นำเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การบริหารจัดการต่างๆในองค์การสำเร็จลุล่วงไปได้  และเกิดประสิทธิผลในการบริหารงานซึ่งเป็นความสามารถของผู้บริหารที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่สำคัญสูงสุดของการบริหารแบบมุ่งสัมฤทธิ์  ซึ่งเป็นรูปแบบการบริหารที่เน้นความรับผิดชอบ ความมีประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหาร จะพิจารณาจากผลของการทำงานที่สำเร็จลุล่วงตามที่คาดไว้เป็นหลัก  ดังที่  Hoy & Miskel (1991)ได้ให้แนวคิดของประสิทธิผลไว้ในส่วนของความสามารถในการผลิตและการปรับเปลี่ยน  มุ่งผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการหรือความพึงพอใจในการทำงาน  ซึ่งแนวทางการวัดความมีประสิทธิผลของภาวะผู้นำมีแนวทางการวัด 2 ประเด็น  คือ ผู้บริหารที่มีประสิทธิผล จะต้องเป็นผู้บริหารที่สามารถทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีผลงานดี   มีความพึงพอใจ ให้ความสำคัญกับปฏิสัมพันธภาพในหน่วยงาน  และผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ จะเป็นผู้บริหารที่ได้รับการสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เน้นปฏิสัมพันธ์จากภายนอก  (ศักดิ์ไทย  สุรกิจบวร,2549)  จะเห็นได้ว่า ภารกิจของผู้บริหารที่มีประสิทธิผลและประสบความสำเร็จมีความต่างกัน  ดังนั้น ประสิทธิผลของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ดีย่อมมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษา  

                จากการศึกษารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำในต่างประเทศ พบว่า มีการศึกษารูปแบบของภาวะผู้นำไว้หลายรูปแบบ เช่น การศึกษาของศูนย์ภาวะผู้นำ (The Leadership Center,2000.Online) ได้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบที่มีสมรรถภาพ (The Competency Model) มีองค์ประกอบหลัก 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤติกรรม สำหรับ Koestenbaum (2000) ได้เสนอรูปแบบของภาวะผู้นำ ที่เรียกว่า Leadership Diamond Model” ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านจริยธรรม ด้านวิสัยทัศน์ ด้านความกล้าหาญและด้านความเป็นจริง และจาก Kouzes และ Posner (2001) จากสมาคมภาวะผู้นำสากล ได้มีการพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำโดยเน้นการฝึกฝนให้เกิดคุณสมบัติกับตนเองด้านการท้าทายกระบวนการ ดลบันดาลใจให้เกิดวิสัยทัศน์ร่วม สนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติ สร้างวิถีต้นแบบและส่งเสริมกำลังใจ นอกจากนี้ มีผู้นำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของ Augsburg College (2000) ที่เรียกว่า “ Augsburg Leadership Development Model” โดยเน้นเป้าหมายของการพัฒนาภาวะผู้นำในด้านการดลบันดาลใจให้เกิดความร่วมมือ ส่งเสริมผลผลิตทั้งภายนอกและภายในองค์การ และปฏิบัติงานให้เกิดความก้าวหน้า ซึ่งรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำนี้ต้องพัฒนาคุณลักษณะ 3 ประการ คือ สำนึกของวิสัยทัศน์  การกำหนดทิศทางสู่การปฏิบัติ และความสามารถในการชักชวน  จะเห็นได้ว่ารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำจากที่กล่าวข้างต้นนั้นต้องอาศัยวิธีการและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ ดังเช่น Vicere & Fulmer (1996) ได้ให้ทัศนะว่าแนวทางใหม่ในการพัฒนาภาวะผู้นำในอนาคต ควรมีลักษณะเป็นการเรียนรู้ประยุกต์ (Applied learning) ที่มุ่งสร้างอนาคตที่ตอบสนองต่อเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ของการพัฒนาภาวะผู้นำต้องเปลี่ยนแปลงคือ บทบาทของผู้เข้าร่วมการอบรมต้องเป็นผู้เรียนรู้  การออกแบบโปรแกรมต้องเป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องมากกว่าการเป็นหลักสูตร  เป้าหมายต้องมุ่งสู่การปฏิบัติได้ และมุ่งอนาคต และจากแนวคิดของ Yulk (2006) ได้แสดงให้เห็นถึงแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำไว้อย่างครอบคลุม 3 ประเด็น คือ การฝึกอบรมแบบทางการ การทำกิจกรรมการพัฒนาระหว่างทำงาน และการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ซึ่งจากการเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่กล่าวข้างต้น พบว่า มีการศึกษาเฉพาะรูปแบบภาวะผู้นำเป็นส่วนใหญ่ แต่มีการศึกษาถึงรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำไม่มาก และไม่ได้มีการศึกษาถึงรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษา ดังนั้น ผู้วิจัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรที่จะทำการศึกษาถึงรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษา เพื่อให้ได้ลักษณะของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้เนื่องจากการศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำและรูปแบบของภาวะผู้นำแบบต่างๆ ไม่อาจสรุปได้ว่าทฤษฎีใดหรือรูปแบบผู้นำแบบใดดีที่สุด หรือมีประสิทธิผลในการบริหารงานด้านวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
Kee (1991)  ที่ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาและความพึงพอใจในงานของอาจารย์ พบว่า ผู้นำที่ใช้พฤติกรรมแบบเน้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจจะทำให้ทีมอาจารย์มีความพึงพอใจในงานของคณะวิชา และผู้นำที่คอยอำนวยความสะดวก มอบหมายงานให้รับผิดชอบ และมีการสื่อสารสองทางจะสร้างความพึงพอใจให้ทีมอาจารย์มากขึ้น  นอกจากพฤติกรรมความเป็นผู้นำแล้วคุณลักษณะของผู้นำยังเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและล้มเหลวขององค์การได้อีกด้วย  สำหรับการศึกษาของ Bruno & O’ Brien (1997) เกี่ยวกับคุณลักษณะของคณบดีที่ประสบความสำเร็จ พบว่า คุณลักษณะสำคัญ 5 ประการที่ทำให้คณบดีบริหารงานวิชาการประสบความสำเร็จ คือ การมีทักษะในการสื่อสาร มีวิสัยทัศน์ มีทักษะในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ มีความซื่อสัตย์ และมีคุณธรรม และประการสุดท้ายคือ ต้องเป็นที่มีความรู้ ความสามารถ  กล่าวได้ว่าคุณลักษณะของภาวะผู้นำที่ประสบความสำเร็จได้นั้นจะมีผลต่อประสิทธิผลของหน่วยงานหรือองค์การเช่นกัน   นอกจากนี้ ยังพบว่า รุ่ง แก้วแดง (2545: คำนำ) ได้กล่าวถึง ผู้นำทางการศึกษาหรือผู้บริหารการศึกษาที่ดีที่จะได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปจะต้องมีลักษณะ เป็นผู้บริหารที่ให้ความเอาใจใส่ต่องานวิชาการ ทุ่มเทให้กับงานพัฒนาการเรียนการสอน มีคุณธรรม และภาวะผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของสถานศึกษา ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี บุคลากรได้รับการพัฒนา และมีขวัญกำลังใจในการทำงานและจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545: 112-114) ได้แสดงให้เห็นว่าผู้นำทางการศึกษาต้นแบบ จะต้องมีคุณลักษณะส่วนตัวที่มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และต้องมีบทบาทที่โดดเด่นในด้านการบริหารจัดการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น