วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชื่อวิจัย                   การพัฒนาทักษะการนับจำนวน  1 - 10  โดยใช้บัตรมหาสนุก  สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา  ชั้นปีที่  5/3  โรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล  จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผู้วิจัย                 นางปราณี  ช่วยชัย  ปีการศึกษา  2553

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาการนับจำนวน 1-10  โดยใช้บัตรมหาสนุก  สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา  ชั้นปีที่  5/3  โรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล  จังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อน -  หลังเรียนชุดบัตรมหาสนุก  ทําการทดลองโดยใชตัวอยาง 1 คน ( Single Subject Design ) ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา  ชั้นปที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 การศึกษา 2553 โรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล  จังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยดําเนินการทดลองใน ภาคเรียนที่ 2 การศึกษา 2553  เปนเวลา 10  วันๆละ 60 นาที รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง
เครื่องมือที่ใชประกอบด้วย
1. แบบทดสอบวัดความสามารถในการนับจำนวน 1-10
2. แบบทดสอบวัดความสามารถความเขาใจการนับจำนวน 1-10
3. แผนการสอนโดยใชชุดบัตรมหาสนุก
การวิเคราะหอมูล ใชการหาคารอยละจากคะแนนผลการทดสอบวัดความสามารถในการนับจำนวน 1-10  อนและหลังการสอนโดยใชชุดบัตรมหาสนุก
ผลการวิจัย พบวาความสามารถในการนับจำนวน 1-10  ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา  หลังการสอนโดยใชชุดบัตรมหาสนุก  สูงกวากอนการสอนโดยใชชุดบัตรมหาสนุก   





วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปภาวะผู้นำ

  • 1. ภาวะผู้นำ (Leadership)



  • 2. วิสัยทัศน์กับผู้นำ “ บทบาทของผู้นำคือการสร้างวิสัยทัศน์” วิสัยทัศน์คือ “ภาพแห่งความนึกคิดในจิตใจที่บ่งบอกถึงความปรารถนาที่ อยากให้องค์การเป็นไปตามสิ่งที่คาดหวังไว้ในอนาคตและความคาดหวังนั้น เป็น สิ่งที่เป็น ไปได้” “ ถ้าไม่มีวิสัยทัศน์ก็จะไม่มีธุรกิจ”
  • วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

    ทฤษฎี Z

    ความเป็นมาของทฤษฎี Z
    หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเหตุการณ์ที่สำคัญในด้านธุรกิจประการหนึ่งเกิดขึ้น คือ ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี และเพิ่มขึ้นในอัตราสูง แต่ในขณะที่อุตสาหกรรมในอเมริกากลับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำมาก และต่ำกว่าอัตราผลผลิตของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป นักธุรกิจชาวอเมริกันได้ตระหนักถึงความจริงในเรื่องนี้ จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าหาวิธีต่าง ๆ ที่จะนำมาแก้ไจสถานการณ์ เพื่อความอยู่รอดขององค์การ

    วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

    ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

    ตามแนวคิดของนักวิชาการหลายท่าน มีการให้ความหมายของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงไว้แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะสรุปความหมายของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้ เช่น

    วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

    การศึกษากับภาวะผู้นำ

    ภาวะผู้นำเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การบริหารจัดการต่างๆในองค์การสำเร็จลุล่วงไปได้ ดังนั้น ประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาที่ดีย่อมมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษา   จะเห็นได้จากงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับสถาบันการศึกษา  

    วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

    นำกับการบริหารความขัดแย้ง


    The distance between insanity and genius is measured only by success.-ระยะห่างระหว่างความวิกลจริตกับอัจฉริยะนั้นวัดกันที่ความสำเร็จ-Bruce Feirsteinผู้นำที่ดีนั้นมีจุดหมายที่เหมือนกันในทุกองค์กรนั่นคือต้องนำพาองค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จ และควบคุมคนในองค์กรให้ทำหน้าที่ของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อเป้าหมายที่ตนเองหรือองค์กรตั้งเอาไว้ องค์กรที่มีขนาดใหญ่ทั้งจำนวนบุคลากรและงบประมาณ รวมถึงสินค้าที่ผลิตมีจำนวนมากหรือหลากหลายย่อมต้องเอาใจใส่ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานขององค์กรและนำผลการดำเนินการมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและทำวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ที่ถูกตั้งขึ้นโดยผู้บริโภคในตลาดว่าผลิตภัณฑ์ตัวใดเหมาะสมหรือไม่อย่างไร? เพื่อเอาไปปรับใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในอนาคต ไม่เช่นนั้นก็จะถูกองค์กรอื่นหรือบริษัทคู่แข่งแย่งฐานลูกค้าไป

    วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

    การพัฒนาทีมงาน

    ปัญหาในการพัฒนาทีมงาน อาจจะเแบ่งออกกว้างๆ ได้ 5 ประการด้วยกัน

    1. การสรรหาว่าจ้างที่ไม่สมเหตุสมผล : บางครั้งฝ่ายบุคคล คัดเลือกคนลงในตำแหน่งที่ว่างอยู่เพียงเพราะอัตราการจ่ายผลตอบแทนที่ตกลงกันได้ แต่กลับไม่เลือกคนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม เพียงเพราะสิ่งที่เขาเรียกร้องนั้นมากเกินไป แต่อย่างไรก็ดี ไม่ว่าตลาดแรงงานจะอยู่ ในภาวะฝืดเคืองแค่ไหน จะต้องมีคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและไม่เรียกร้องมากไปอยู่ตรงไหนสักแห่ง จริงอยู่ว่าทักษะทุกอย่างเป็นสิ่งที่ฝึกฝนและสร้างขึ้นใหม่ได้ แต่จะไม่เป็นการดีกว่าหรือ หากสิ่งเหล่านั้นมีอยู่แล้วในตัวพนักงานที่คุณรับเข้ามา

    วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

    มาตรวัดตัวแปรประสิทธิผลของผู้นำ

    มาตรวัดตัวแปรประสิทธิผลของผู้นำสามารถแบ่งได้ดังนี้

             
    1. ความมีประสิทธิภาพของผู้นำ (effectiveness) ความสามารถของผู้นำสามารถถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากผู้ใต้บังคับบัญชาไปสู่ผู้บริหารระดับสูงได้เป็นอย่างดี ปฏิบัติงานได้ตามความต้องการของผู้บังคับบัญชา ทำให้เกิดประสิทธิภาพแก่องค์การ เช่นเดียวกับการส่งเสริมให้หน่วยงานทั้งหมดเกิดการผลิตผลงาน (Bass & Avolio, 1997, p. 310) ในสามทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการศึกษาผู้นำในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพของผู้นำ (Fiedler, 1967; House, 1971; Howell & Dorfman, 1981; Shamir & Howell, 1999; Wofford & Liska, 1993; Yukl, 1998) การวิจัยผู้นำแบบปฏิรูป และทฤษฎีการมุ่งไปที่ความหลากหลายของสถานการณ์ต่าง ๆ ของผู้นำที่ครอบคลุมถึงทฤษฎีเหล่านี้ ความสัมพันธ์ของผู้นำกลุ่ม โครงสร้างงาน (task structure) อำนาจของผู้นำ ระดับความสามารถของผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ถูกควบคุม เผด็จการของผู้บังคับบัญชา อย่างไรก็ตามการเข้าใกล้เป้าหมายของความแตกต่างของผู้นำในแต่ละสถานการณ์

    วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

    ผู้นำกับการเป็นผู้บริหารที่ดี

    การบริหารเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนและงาน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการบริหารงานดังนั้นจึงต้องใช้การปกครองอย่างมีศิลปะ เพื่อให้สามารถครองใจคนและได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพเกิดคุณภาพ ถือว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ การดูแล การจูงใจจะต้องนำก่อนทำเป็นตัวอย่างตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่ชื่นชมยินดี

    ประเภทของผู้นำ